รังสี UV ที่เราต้องเจอในแต่ละวัน

รังสียูวีเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวเรากว่าที่คิดนะคะ อย่างที่รู้กันว่ายูวีมีต้นกำเนิดใหญ่มาจากดวงอาทิตย์นั่นเอง แต่นอกจากแสงยูวีที่มีในธรรมชาติแล้ว แสงยูวีจากแหล่งต่างๆที่เราเจอกันเป็นปกติทุกวันที่ทำอันตรายต่อดวงตาและผิวหนังเราได้ไม่แพ้กัน ไปดูดีกว่าค่ะว่าแสงยูวีมาจากที่ไหนบ้าง


จอโทรทัศน์หรือจอคอมพิวเตอร์ก็มีแสงยูวีอันตราย


จอโทรทัศน์รุ่นเก่าๆที่เป็นจอแก้วแบบโค้งนั้นแผ่รังสียูวีเช่นกันค่ะ แต่อาจจะเป็นเพียงรังสีที่มีเล็กน้อย ไม่ทำอันตรายต่อสายตาหรือทำให้ผิวหมองคล้ำ แต่ถ้าเพ่งมากๆล่ะก็ทำให้ตาเมื่อล้าและปวดศรีษะได้ แต่ถ้าเป็นจอ LED และ Plasma ก็จะไม่ค่อยแผ่รังสียูวีเท่าไหร่ แต่ถ้าจอยิ่งใหญ่จะมีความร้อนสูง


หลอดไฟชนิดต่างๆ แผ่รังสียูวีสู่ผิวและดวงตา


หลอดไส้ (Incandescent Light Bulb) อาศัยกระแสไฟฟ้าวิ่งผ่านไส้ทังสเตนจนเกิดความร้อนและแสงสว่าง ให้แสงสีส้ม หลอดชนิดนี้จะเปลืองไฟแต่มีรังสียูวีต่ำมาก


หลอดฟลูโอเรสเซนท์ (Fluorescent Light) ใช้กระแสไฟฟ้าผ่านไส้ทังสเตนแบบหลอดไส้ มีการแผ่รังสียูวีในระดับที่ปลอดภัย หลอดเมทัลฮาไลด์ เป็นหลอดที่ให้ความเข้มแสงสูงและความถูกต้องของสีใกล้เคียงแสงแดด มีการแผ่รังสียูวีในระดับสูงที่อาจเกิดอันตรายกับดวงตาได้


หลอด  LED (Light Emitting Diode) แสงสว่างมาจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนในเซมิคอนดักเตอร์ จึงไม่มีการแผ่รังสียูวีและความร้อนปลอดภัยจากสารประหลอดด้วยค่ะ


งานเชื่อมโลหะ 


นอกจากจะมีประกายไฟแล้ว ยังมีการแผ่รังสียูวีในความเข้มข้นสูง ผู้ปฏิบัติงานต้องไม่ลืมใส่อุปกรณ์ป้องกันดวงตา และสวมเสื้อผ้าที่มิดชินนะคะ

หลักการง่ายๆที่ช่วยป้องกันผลกระทบจากรังสียูวี มีดังนี้
- หลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดจัด โดยเฉพาะช่วงเวลา 10.00 - 16.00 น.
- หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มียูวีสูง เช่น พื้นที่ที่มีการสะท้อนของแสงแดด จากกระจก อาคาร ผิวน้ำ
- ทากันแดดอย่างสม่ำเสมอ
- ใส่เสื้อผ้ามิดชิด สวมหมวก หรือกางร่มเมื่อต้องโดนแดดจัด
- ใส่แว่นตาป้องกันรังสียูวีก็ช่วยให้จอประสาทตาไม่ต้องรับรังสียูวีมากเกินไปได้นะคะ 
- ถ้าหากว่าทำงานใกล้หน้าต่าง ควรมีม่านกันแสง หรือติดฟิล์มกันรังสียูวีที่หน้าต่างด้วยค่ะ


บทความโดย Filmpro Thailand

Filmpro - ผู้เชียวชาญตัวจริงด้านฟิล์มอาคาร ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี

ตัวอย่างลูกค้า

ตัวอย่างลูกค้าแบรนด์ต่างๆที่ใช้บริการติดฟิล์มกรองแสงกันร้อนกับ Filmpro อ่านต่อ...